สังคม » ท่องเที่ยวและกีฬาฯ พาสื่อและผู้ประกอบการเชียงใหม่ ชมแหล่งท่องเที่ยงเชิงชุมชน

ท่องเที่ยวและกีฬาฯ พาสื่อและผู้ประกอบการเชียงใหม่ ชมแหล่งท่องเที่ยงเชิงชุมชน

18 กรกฎาคม 2025
59   0

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2568 โดยสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ นายอิทธิรัฐ สินารักษ์ ท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดเชียงใหม่, นายสมศักดิ์ อินทะชัย นายกสมาคมท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคเหนือ, นายดำรงค์ องอาจ รองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชียงใหม่ , นายอธิรัตน์ มาศรัตน์ ประธานเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนเชียงใหม่ และแขกผู้มีเกียรติร่วมกิจกรรมการประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนวิถีชาติพันธุ์ “ ชาติพันธุ์สีสันแห่งล้านนา ” โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชาติพันธุ์ สีสันแห่งล้านนาอย่างยั่งยืน (Ethnic Lanna Tourism) ประจำปี 2568

การเยี่ยมชมชุมชนบ้านไตลื้อลวงเหนือ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์การเรียนรู้บ้านภูมิปัญญาไตลื้อลวงเหนือ ทั้งข้าวของเครื่องใช้ บ้านเรือนจำลอง และวิถีชีวิตเอกลักษณ์ของชาวไตลื้อ พร้อมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ในด้านการบริหารชุมชน โดยชุมชนไทลื้อนั้น เจ้าของฐานการเรียนรู้ศูนย์การเรียนรู้ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อบ้านใบบุญ คือ นางพรรษา บัวมะลิ เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่สื่อให้ถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนไตลื้อสมัยก่อน

และเสื้อบ้านเป็นสถานที่บ่งบอกถึงความเชื่อของคนไตลื้อที่มีความเชื่อว่ามี เจ้าบ้านเจ้าเมืองเป็นเทวดาคอยคุ้มครองคน ในหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ดังนั้น ชุมชนจึงมีกิจกรรมไหว้สาเสื้อบ้านเพื่อบอกกล่าว และพร

เสือบ้าน (ศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน) เป็นสถานที่ที่สะท้อนถึงความเชื่อของชาวไท ลื้อที่เชื่อว่ามีวิญญาณผู้พิทักษ์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “เจ้าบ้านเจ้าเมือง” คอย คุ้มครองหมู่บ้านและนำความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ชาวบ้าน ดังนั้น ชุมชนจึงจัด พิธีกรรมที่เรียกว่า “ไหว้เสือบ้าน” เพื่อแสดงความกตัญญูและขอพร

 

นอกจากนี้ การเยี่ยมชมชุมชนป่าไผ่โคกหนองนาโมเดล ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง ของจังหวัดเชียงใหม่ ยังเป็นแหล่งที่การพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยการน้อมนำ แนวคิด “โคก หนอง นา โมเดล” ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเกษตรผสม ผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นความสมดุลของคน ป่า และน้ำ มีการ ฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ด้วยการสร้างแหล่งน้ำ ปลูกพืช ผสมผสาน และจัดระบบการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสมในแต่ละครัวเรือน

โดยจุดเด่นของชุมชน เป็นพื้นที่ต้นแบบด้านเกษตรยั่งยืนตามแนวคิด “โคก หนอง นา โมเดล มี การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า โดยเฉพาะ “ป่าไผ่” และเป็น ชุมชนที่สามารถพึ่งพาตนเองด้านอาหาร เช่น ปลูกผัก เลี้ยงปลา ไก่ และ แปรรูปผลผลิต อีกทั้งยังมีระบบจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หนองน้ำและคลองไส้ไก่ นอกจากนี้ยังเป็นชุมชนเข้มแข็ง ยึดหลัก “พอ เพียง ยั่งยืน และเป็นสุข” และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เปิดให้ชุมชนอื่นเข้ามาศึกษาดูงานได้ทั่วประเทศ