การศึกษา » กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ 20 จังหวัดต้นแบบสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาทั่วประเทศไทย

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ 20 จังหวัดต้นแบบสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาทั่วประเทศไทย

11 สิงหาคม 2020
840   0

Spread the love

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้จัดทำโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาค ทางการศึกษา ร่วมกับ 20 จังหวัดต้นแบบสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาทั่วประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก ขอนแก่น มหาสารคาม สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานีนครราชสีมา กาญจนบุรี นครนายก ระยอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา และสงขลา โดยให้แต่ละจังหวัดเป็นเจ้าภาพในการดำเนินงานโดยใช้บริบทของพื้นที่เป็นฐานในการขับเคลื่อนโครงการ

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ โดยนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่  และภาคีเชียงใหม่เพื่อการปฏิรูปการศึกษา โดย รศ.ดร.อรรณพ พงษ์วาท ประธานคณะกรรมการบริหารภาคีเชียงใหม่  เพื่อการปฏิรูปการศึกษา ในนามจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับงบประมาณจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อดำเนิน “โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่” ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2562 – สิงหาคม 2563

มีวัตถุประสงค์และการขับเคลื่อนการทำงาน 3 ด้าน คือ   พัฒนาความเข้มแข็งของกลไกสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาระดับจังหวัด บูรณาการระหว่างหน่วยงานหลักและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 2.พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวางแผนลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ผ่านการสำรวจค้นหากลุ่มเป้าหมายจริง ทำให้การช่วยเหลือดูแลกลุ่มเป้าหมายมีความน่าเชื่อถือและแม่นยำ และ 3.พัฒนาระบบการสร้างตัวแบบการช่วยเหลือเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาตามบริบทของพื้นที่สอดคล้อง กับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กปฐมวัยและเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษา

มีกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน คือ  1.  เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อายุ 2-6 ปี เพื่อทำให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการและความพร้อมเข้าสู่ระบบการศึกษาในระดับชั้นที่สูงขึ้นไป 2.  เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา อายุ 2-21 ปี เพื่อทำให้กลุ่มเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาสามารถกลับเข้าเรียน หรือได้รับการฝึกทักษะชีวิตหรือทักษะอาชีพที่เหมาะสม สามารถสร้างรายได้ดูแลตนเองและครอบครัวได้ 3.  พัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดอปท. 8 แห่ง ให้สอดคล้องตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ  พ.ศ.2561 ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองวัวแดง ม.12 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดงป่าสัก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสันติวนา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดอยหล่อ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านท่าหลุกสันทราย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กป่ากล้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่โต๋ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปู  มีพื้นที่นำร่อง จำนวน 8 อำเภอกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอสันทราย อำเภอสะเมิง อำเภอแม่วาง อำเภอดอยหล่อ อำเภอดอยเต่า อำเภอเชียงดาว และอำเภอไชยปราการ

การขับเคลื่อนโครงการฯ ได้มีสร้างตัวแบบมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย  ที่ไม่ซ้ำซ้อนกับภารกิจและงบประมาณของหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ดังนี้  สำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยจัดสรรงบประมาณสำหรับช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่ผ่านการสำรวจคัดกรองข้อมูลและผ่านเกณฑ์เป็นนักเรียนยากจนพิเศษ  ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รายละ 400 บาท/ต่อคน/ต่อภาคการศึกษา เพื่อใช้ในรายการ ดังนี้ 1.  การจัดบริการรับ-ส่ง เด็กปฐมวัยเพื่อเข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  2.  อุปกรณ์จำเป็นสำหรับการเข้ารับบริการของเด็กปฐมวัย เช่น อุปกรณ์การเรียน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน     3.  สนับสนุนการจัดบริการสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีความเสี่ยง/ปัญหาสุขภาพ เช่น อาหารเช้าสำหรับเด็กที่มีความเสี่ยงทุพโภชนาการ และการติดตามเยี่ยมบ้านเป็นกรณีพิเศษ  ซึ่งจากการดำเนินงานได้ช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2,187 ราย เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 1,748,800 บาท (จำนวน 2 ภาคการศึกษา)

สำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่มีปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ ได้จัดสรรงบประมาณ               จำนวน 4,000/ราย  เพื่อใช้ในรายการ ดังนี้ 1.  สำหรับเตรียมความพร้อมก่อนส่งกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา การพัฒนาทักษะชีวิตหรือทักษะอาชีพ  จำนวน 1,000/คน  2.  งบประมาณสนับสนุน หน่วยจัดบริการ อาทิ สถานศึกษา กศน. หรือสถานพัฒนาทักษะอาชีพแก่เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา รายละ 3,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย  เพื่อปรับสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนในโรงเรียนให้เหมาะสมกับการดูแลเด็กนอกระบบมิให้หลุด   ออกจากระบบการศึกษาอีกครั้ง  สนับสนุนค่าอาหาร ค่าเดินทาง หรือค่าใช้จ่ายอื่นที่ยังไม่มีหน่วยงานอื่นใดให้การสนับสนุนแก่เด็กและเยาวชน  นอกระบบการศึกษาที่พร้อมสำหรับการศึกษาต่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กับสถาบัน/องค์กร หรือหน่วยงานที่จะจัดให้มีการพัฒนาทักษะอาชีพให้กับเด็กและเยาวชน นอกระบบการศึกษาที่พร้อมสำหรับการพัฒนาทักษะอาชีพ

ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา จะมีการนำข้อมูลมาจัดกลุ่มแบ่งตามช่วงอายุ แบ่งตามพื้นที่ และแยกตามความต้องการ เช่น ต้องการศึกษาต่อในระบบการศึกษา หรือต้องการฝึกอาชีพ โดยคณะทำงานสหวิชาชีพ  ระดับจังหวัด จะประสานงานหน่วยงานที่จัดบริการ (Service provider) ทุกภาคส่วนเพื่อรับทราบ และวางแผนลงไปช่วยเหลือ พร้อมทั้งจัดตั้งคณะทำงานระดับพื้นที่ ลงไปประกบตัวเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษา เพื่อจัดทำข้อมูลปัญหาความต้องการเชิงลึกเพื่อจัดทำแผนช่วยเหลือรายกรณี (Care Plan) ต่อไป.