สุขภาพ » คณะพยาบาลศาสตร์ มช. จัดประชุมสรุปผลงานของแผนงานวิจัยฯ จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

คณะพยาบาลศาสตร์ มช. จัดประชุมสรุปผลงานของแผนงานวิจัยฯ จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

1 กุมภาพันธ์ 2020
981   0

Spread the love

โครงการวิจัยและนวัตกรรมการบริหารจัดการแผนงานการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุกให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพแผนงาน Spearhead ด้านเศรษฐกิจ รูปแบบการบริหารจัดการแผนงานการบริการมูลค่าสูงภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมประจำปี 2562

1กุมภาพันธ์ 2563 ศาสตราจารย์  นายพงษ์ภาณุ  เศวตรุนทร์ อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และดร.วิภาดาคุณาวิกติกุล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มช. จัดการประชุม เรื่องการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุกให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ที่ห้อง Auditorium ชั้น 1 โรงแรมแชงกรีลา เชียงใหม่

การดำเนินการชุดโครงการการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุกให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)  อยู่ภายใต้แผนงาน Spearhead ด้านเศรษฐกิจ รูปแบบการบริหารจัดการแผนงานการบริการมูลค่าสูง โดยมี คุณพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ เป็นประธานบริหารแผนงานฯ และ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาดา คุณาวิกติกุล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้อำนวยการแผนงานของชุดโครงการฯ ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาหาแนวทางการพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sport Destination) ศึกษาและวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานและกำหนดแนวทางการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงกีฬาศักยภาพสูงกลุ่มกอล์ฟ และการท่องเที่ยวเชิงกีฬาวิ่ง จักรยาน และศิลปะมวยไทย ที่สอดคล้องกับการความต้องการของนักท่องเที่ยวรวมทั้ง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการให้บริการสปาในพื้นที่ภาคใต้ และเพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการสปาล้านนาที่มีมาตรฐานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยจะก่อให้เกิดนวัตกรรมที่หลากหลายจากการดำเนินการศึกษาวิจัย ได้แก่โมเดลธุรกิจการท่องเที่ยวส่งเสริมสุขภาพด้วยนวัตกรรมบริการบนฐานมรดกวัฒนธรรมและจิตบริการแบบไทยให้เป็นส่วนหนึ่งของกลไกขับเคลื่อนระบบการท่องเที่ยวส่งเสริมสุขภาพของไทยสู่การเป็น Global Wellness Tourism Destination อีกทั้งเพื่อกำกับ ติดตาม เร่งรัด การดำเนินการโครงการวิจัยภายใต้แผนงานให้สำเร็จลุล่วง และส่งมอบผลสำเร็จการดำเนินงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ การวิจัยครั้งนี้มีวิธีการดำเนินงานที่เป็นระบบภายใต้ระเบียบวิธีวิจัยที่เชื่อถือได้ ทั้งการใช้วิจัยเชิงผลลัพธ์เป็นหลัก การวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยเชิงพัฒนา  การประเมิน วิเคราะห์สังเคราะห์งานวิจัยทั้ง 5 โครงการ รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมทั้งเชิงกระบวนการและผลลัพธ์

ในการดำเนินการชุดโครงการการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุกให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพประกอบด้วยโครงการ 5 โครงการ ดังนี้โครงการที่ 1  การพัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในกลุ่มกิจกรรม มวยไทย ปั่นจักรยาน และวิ่ง (Fight Ride Run) สู่การท่องเที่ยวดิจิทัลของประเทศไทย  โครงการที่ 2 การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟเพื่อยกระดับสู่จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟระดับโลก

โครงการที่ 3 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพในพื้นที่ภาคใต้สู่การเป็นผู้นำการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในระดับสากล โครงการที่ 4 การพัฒนาสปาล้านนาสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

โครงการที่ 5 การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวส่งเสริมสุขภาพในระดับสากลด้วยนวัตกรรมบริการบนรากฐานมรดกวัฒนธรรมและจิตบริการแบบไทย  

แผนงานวิจัยดังกล่าวได้การดำเนินการสำเร็จ บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ มีการบริหารจัดการแผนที่ดี มีการประชุมเพื่อรับฟังความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค การแก้ไข การปรึกษาหารือ การติดตามการดำเนินการวิจัย การให้คำปรึกษาในการดำเนินการ การประเมินผลเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง ในระหว่างการดำเนินการและภายหลังการสิ้นสุดโครงการ รวมทั้งมีการดำเนินการที่สำคัญคือ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ บูรณาการผลการวิจัย ผลลัพธ์ ผลกระทบประโยชน์ การนำไปใช้เชิงพาณิชย์ ด้านสาธารณะ ด้านวิชาการ ผลผลิต ทั้งหมดที่ได้จากทุกโครงการของแผนงานได้มีความสอดคล้องกับประเด็นการวิจัยที่ตั้งไว้ รวมทั้งมีการจัดทำรายงานผลการสังเคราะห์ ผลลัพธ์ ผลผลิต ผลกระทบที่เกิดขึ้น ตลอดจนการผลักดันการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ได้แนวทางการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกทั้งทางด้านเศรษฐกิจ รวมไปถึงภาคการผลิตและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบต่อการจ้างงานและความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อนำไปสู่ความมั่งคงและยั่งยืนของประเทศไทยต่อไป

ในวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 นี้ เป็นการประชุมเพื่อสรุปผลงานของแผนงานวิจัยฯ และการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ซึ่งผลงานที่เกิดจากแผนงานนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ผลต่อประเทศได้อย่างมากได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และผู้เกี่ยวข้องสามารถนำแผนยุทธศาสตร์และแผนการบริหารจัดการการเตรียมความพร้อมด้านสปาและ กีฬาไปใช้ในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้านสปาและกีฬาของประเทศ ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นและเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว สำหรับผู้ประกอบการสปา สมาคมสปา สมาพันธ์สปา และด้านกีฬาสามารถใช้ชุดความรู้ใหม่ทั้ง 5 ชุดไปใช้ในการจัดการให้บริการด้านสุขภาพ สปาและกีฬาได้อย่างมีคุณภาพก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นและเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ จำนวนนักท่องเที่ยวคุณภาพเพิ่มขึ้นในด้านการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพที่สร้างผลกระทบเชิงบวกทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม สามารถกระจายรายได้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการท่องเที่ยว ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬาและสภาอุตสาหกรรม เป็นต้น อีกทั้ง สมาคม สมาพันธ์ สปาและการกีฬาสามารถนำผลที่ได้ไปพัฒนานวัตกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศในด้านอื่น ต่อไป นอกจากนี้ประเทศมีการลงทุนและนำมาซึ่งการร่วมทุนทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องนำเงินตราเข้าสู่ประเทศต่อไป