วัดพระเจ้าเม็งราย ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ติดกับโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ สร้างประวัติศาสตร์ สร้างเหรียญพระเจ้าค่าคิง รุ่งแรกที่จัดสร้างขึ้น เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้บูชาซึ่งมีจำนวนการจัดสร้างรุ่นกรรมการพิเศษทองคำลงยา เนื้อทองคำ เนื้อทองคำลงยาเขียว เนื้อทองคำลงยาแดง จำนวน 15 เหรียญ บูชา 499,999 บาท รุ่นเนื้อทองคำ 20 เหรียญบูชา 169,999 บาท ,เนื้อเงินจำนวน 288 เหรียญบูชา 2,999 บาท ,เนื้อนวะจำนวน 399 เหรียญบูชา 999 บาท ,เนื้อทองแดงซาตินจำนวน 3,999 เหรียญบูชา 299 บาท และรูปหล่อพระเจ้าค่าคิงหน้าตัก 9 นิ้ว จำนวน 50 องค์ บูชา 9,999 บาท ซึ่งรายได้ทั้งหมดเพื่อการทำนุบำรุงศาสนาสถถานและพัฒนาสาธารณูปโภคให้เป็นประโยชน์แก่เหล่าพุทธยรษัทและเพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ตราบนาน
เหรียญพระเจ้าค่าคิง รุ่นแรกนี้ ได้รับเมตตาบารมีของครูบาอาจารย์ชื่อดังของภาคเหนือมาร่วมเจริฐจิตภาวนาในพิธีปลุกเสกเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของผู้ได้ถือครอง ซึ่งในวันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2567 มีพิธีพุทธา-เทวาภิเษก เวลา 09.09 น.ณ วัดพระเจ้าเม็งราย โดยมีพระเดชพระคุณพระเทพมังคลาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน มีเกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคเหนืออาทิ ครูบาน้อย เชปัญโญ เจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ , ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เจ้าอาวาสวัดแสงแก้วโพธิญาณ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ,และครูบาเจ้าเทือง นาถสีโล วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ติดต่อสอบถามพระคูใบฎีกากาจรินทร์ ธมฺมสโร 065-8956480 หรือFB; วัดพระจ้าเม็งราย สายธารบุญ 700 ปี
ประวัติ วัดพระเจ้าเม็งราย เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระเจ้าเม็งราย เดิมชื่อว่า วัดคานคาด คงจะเพี้ยนมาจากคำว่า กาละก้อด หรืออาจมีความหมายว่า ไม้คานหามพระพุทธรูปมาคาด หรือกร่อนจาก จนเกือบจะนำมาใช้หามพระพุทธรูปต่อไปอีกไม่ได้ จึงตั้งว่า วัดคาดคอด[1] ยังมีอีกชื่อว่า วัดศรีสร้อยท้าเจ่ง เปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดพระเจ้าเม็งราย” ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สันนิษฐานว่าเป็นพระอารามหลวงแห่งที่สามที่พญามังรายทรงสร้างขึ้น สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติระบุว่าตั้งวัดและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 1839
วัดมีโบราณวัตถุที่สำคัญเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ มีชื่อเรียกว่า พระเจ้าค่าคิงพญามังราย สูงประมาณ 540 เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปยืนสมัยต้นเชียงใหม่เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญองค์หนึ่ง เรื่องราวของพระพุทธรูปองค์นี้ปรากฏในตำนานเมืองเชียงใหม่และในพงศาวดารโยนก ปูชนียวัตถุอื่น ๆ ได้แก่ พระพุทธรูปที่จำลองจากพระพุทธสิหิงค์ สร้างโดยศรีสัทธัมมะมหาสังฆราชเมื่อ พ.ศ. 2012 ประดิษฐานในวิหารใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง 86 เซนติเมตร และยังมีกลุ่มพระพุทธรูปปางมารวิชัยสำริดอีกหลายองค์ เป็นรูปแบบของพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในต้นพุทธศตวรรษที่ 21 พระพุทธรูปปางลีลาสกุลช่างเชียงใหม่ สำริดปิดทองพุทธศตวรรษที่ 21–22 ประดิษฐานอยู่ในวิหารน้อย