เศรษฐกิจ » บริษัทจาร์ทิซานน์จำกัด ผู้ผลิตชีสสัญชาติไทย100% ขยายโรงงานสร้างสรรค์ชีสหลากหลายชนิด ที่จังหวัดเชียงใหม่

บริษัทจาร์ทิซานน์จำกัด ผู้ผลิตชีสสัญชาติไทย100% ขยายโรงงานสร้างสรรค์ชีสหลากหลายชนิด ที่จังหวัดเชียงใหม่

24 มกราคม 2024
658   0

Spread the love

เมื่อเย็นวันที่ 23 มกราคม.นี้ที่ บริษัทจาร์ทิซานน์จำกัด เลขที่ 242 หมู่ 3ตำบล สันผักหวานอำเภอหางดงจังหวัดเชียงใหม่เส – จารุทัศ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา พร้อมทั้งแอน- ชุติพันธุ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ได้ทำพิธีเปิดขยายโรงงานที่มีเทคโนโลยีอันทันสมัยที่ดีไซน์มาเพื่อการผลิตชีสที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด โดยมีหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล เป็นองค์ประธานเปิดงานมี พล.อ.อ.อนุพันธ์- ผศ.วรลักษณ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมหลวงปรียพรรณ ศรีธวัช พร้อมทั้งผู้บริหารจากองค์กรและบริษัทต่างๆ แลพแขกผู้ทรงเกียรติมาร่วมงานคับคั่ง


โดยบริษัทจาร์ทิซานน์จำกัดผู้ผลิตชีสสัญชาติไทย100% เริ่มก่อตั้งเมื่อปี2563 ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้นมในท้องถิ่นมาผลิตเป็นหลัก จุดเด่นของจาร์ทิซานน์คือการประยุกต์ภฺูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ชีสหลากหลายชนิดทางผู้ก่อตั้งเชื่อว่าประเทศไทยสามารถเป็นแหล่งผลิตชีสระดับโลกได้ ปัจจุบันเพื่อรองรับการใช้ปริมาณนมโคถึง 2ตันต่อเดือน ทางจาร์ทิซานน์จึงได้ขยายโรงงานที่มีเทคโนโลยีอันทันสมัยที่ดีไซน์มาเพื่อการผลิตชีสที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด

ลิตที่

เส – จารุทัศ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ได้กล่าวถึงการเปิดขยายโรงงานในครั้งนี้ว่า”กระผมขอขอบพระคุณทุกท่าน ที่ให้เกียรติมาในวันนี้ เพื่อเป็นสักขีพยาน ในความสำเร็จ ที่จะสร้างความฝันที่ยากเย็นและยุ่งยาก ให้กลายเป็นความจริง เป็นความฝันที่เลือกที่จะท้าทายความสามารถของคนไทยและของตัวเอง ให้ทั้งคิดและทำออกนอกกรอบ โดยการสร้างมโนภาพ ใช้อิทธิบาท 4 เพียรพยายามและมุ่งมั่นที่จะทำให้มโนภาพนั้น เกิดขึ้นมาเป็นสิ่งจับต้องได้ อย่างที่ประเทศไทยเราไม่เคยเห็นมาก่อน

การทำชีสในเมืองไทย ก็ว่าเป็นเรื่องยากแล้ว เพราะไหนจะคนไทยไม่ได้คุ้นชินกับชี การสร้างโรงผลิตชีสที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับต่างชาติ ด้วยน้ำมือและมันสมองของคนไทยเองที่จะรังสรรปั้นแต่งขึ้นมา ก็เป็นเรื่องที่ยาก ’มาก’ ไม่ได้แพ้กัน เพราะทั้งสองสิ่งนี้ ประเทศไทยเราขาดครูผู้สอน ขาดที่ปรึกษา หรือผู้มากประสบการณ์ ที่จะคอยให้คำแนะนำที่ถูกต้อง แต่เป็นความพยายามของเราคนไทย ที่เลือก ที่จะต้องอดทนต่อความยากลำบากในการค่อยๆเรียนรู้ด้วยตนเอง จากการลองผิดลองถูก จากการช่างสังเกตุ จากการมองดูต้นแบบจากแดนไกลเพียงผ่านสื่อโดยไม่ได้ไปจับต้องของจริง แล้วมาถอดรหัส และจากการทำสมาธิเพื่อพวกเราให้ตกผลึก จนเราเกิดความเข้าใจในระบบที่กำลังจะเกิดขึ้น จนการออกแบบที่สามารถปะติดปะต่อการทำงานของระบบต่างๆ ให้เข้ากันได้นั่นเอง

ตอนที่คิดจะเริ่มสร้างโรงผลิตชีสแห่งนี้ในกลางปี 2564 ผมรู้ตัวในตอนนั้น ว่าผมคงต้องเป็นผู้ออกแบบ Layout ของอาคารเอง เพราะมันจะเป็นการออกแบบที่ยากมากให้ลงตัว เนื่องจากต้องเต็มไปด้วย Function ต่างๆ ที่จำเป็นตามกระบวนการผลิตชีสจากต้นจบ ที่มีเพียงเราเท่านั้นที่จะรู้ และก็ต้องให้ถูกต้องตามหลักมาตรฐานอาหาร และยังอาศัยหลักวิชาฮวงจุ้ยที่ทางซินแส ณภัทร ดุษฎีรักษ์ คอยให้คำแนะนำ แต่มีพื้นที่จำกัดเพียงประมาณเศษ 1 ส่วน 10 ของพื้นที่บ้าน และ บนคือ Footprint เพียงที่ถือว่าเล็กมาก แต่ต้อง ก่อนที่จะส่งแบบ 3 มิติต่อให้บริษัท Full Scale Studio บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมเจ้าประจำ ของคุณอรรถสิทธิ์ กองมงคล ไปช่วยจบแบบด้านรูปลักษณ์ภายนอกให้สวยสดงดงาม ตามมโนภาพของสถาปนึกคือเจ้าของ และสถาปนิกตัวจริง คือคุณอรรถ รวมๆกัน รวมถึงทำแบบก่อสร้างให้ออกมาให้สำเร็จด้วย อย่างไรก็ดี คุณอรรถสิทธิ์ก็ได้ทำใจไว้แล้ว ว่าสถาปนึก ก็จะมาดัดแปลงแบบออกไปอีก เปรียบดั่งนักดนตรี jazz ในวงเดียวกัน ที่แต่ละท่านก็จะมี ท่อน solo คนละท่อน เพื่อให้เพลงมีความลงตัวและหลากหลาย

ด้วยความที่เราไม่มั่นใจว่าเราจะหาผู้รับเหมาได้หรือไม่ เนื่องจากงานนี้ จะเป็นงานที่สลับซับซ้อน และมีระบบแปลกๆใหม่ๆ ที่จะเข้ามา ทางพวกเราจึงเลือกที่จะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเอง โดยปราศจาคผู้รับเหมาก่อสร้าง ต้องจัดคิวช่างก่อสร้างทุกประเภทเข้ามา ตามลำดับ แต่ต้องมีคู่หูรุ่นพี่ ผู้มากมายความสามารถ คือช่วยกันคิด ช่วยกันออกแบบและทำ คือคุณป๋วย อัครภาคย์ ผู้ที่เป็นทั้ง designer / วิศวะกร / สถาปนิก / model maker / visionary ในคนเดียวกัน เข้ามาช่วยเป็นแรงให้อีกท่าน เป็นบุคคลที่เข้าใจงานออกแบบ งานก่อสร้าง งานเขียนแบบทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ ได้ตั้งแต่ระดับมหาภาค ยันระดับน็อตตัวเล็กๆ แถมยังมีความบ้าที่จะท้าทายอะไรแปลกๆใหม่ๆ ได้ไม่แพ้กัน จึงทำให้งานทั้งฝั่งระบบ ฝั่งเครื่องจักร ฝั่งอาคาร ช่วยกันสำเร็จได้อย่างที่ท่านจะได้เห็น เพราะคุณป๋วย มาเป็นผู้ช่วยกันค้ำโปรเจ็คของพวกเราให้เกิดขึ้น พวกเราสนุกกันมาก กับการได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ กันตลอดเวลา


ชีสของจาร์ติซานที่จำหน่ายประจำมีอยู่สิบชนิด เรียงจากเนื้อชีสนุ่ม ไปจนถึงแข็ง มีทั้งรมควัน ปนผลไม้แห้งหอมหวาน หรือบลูที่เป็นมิตร San Paquanburie สันผักหวานบุรีSoft, bloomy-rind,Snow Goat สโนว์ แพะSoft, bloomy-rind,Hidden Agenda ซ่อนกลิ่น
Soft, washed-rind,Ricotta Affumicata รีคอตตา อัฟฟูมิกาตาSemi-soft, smoked,Ricotta Alla Fruitta รีคอตตา อัลลา ฟรุตตา
Semi-soft smoked, flavoured,Syam Is Blue สยาม อิซ บลูSemi-hard, blue,,Saltara Ferari ซอลธารา เฟราริSemi-soft, washed-rind
Saltara Machima ซอลธารา มาชิมะSemi-hard, mountain, washed-rind,Saltara Thera ซอลธารา เถระHard, mountain, washed-rind
Palazzo Di Palma ปาลาซโซ ดิ ปาลมาHard Italian – Grana type,

“เราจะทำชีสได้ ต้องเริ่มด้วยนม จะเป็นนมวัว นมควาย หรือนมแพะก็ได้ จากนั้นต้องมีเชื้อจุลินทรีย์เพื่อให้เกิดกรดแลคติก ซึ่งภาวะกรดจะทำให้เกิดการตกตะกอนโปรตีนในน้ำนม จากนั้นก็จะใส่สารที่เรียกว่าเรนเน็ต ทำให้โปรตีนที่แยกออกมานั้นจับตัวเป็นก้อน ของเหลวที่แยกออกมาคือเวย์โปรตีน จากนั้นคนทำชีสจะเอาก้อนโปรตีนหรือที่เรียกว่าเคิร์ด มาอัดกดเพื่อไล่น้ำออก จากนั้นก็เข้าห้องบ่ม ออกมาเป็นชีส” เส – จารุทัศ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กล่าวทิ้งท้าย