วันที่ 15 สิงหาคม 2566 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับรางวัลเครือข่ายคลีนิคเทคโนโลยี ในงานประชุมเครือข่าย อว. เพื่อพัฒนาศักยภาพจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 14 – 15 สิงหาคม 2566 ภายในงาน Techno Mart 2023 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้มีพิธีโล่และประกาศเกียรติคุณ โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถคว้ามาได้ 7 รางวัล ได้แก่
1. รางวัลบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี(Technology Consulting Services: TCS) “ระดับดีเด่น” โดย รศ.ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้จัดการคลีนิคเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
2. รางวัลการพัฒนาขีดความสามารถเครือข่าย (Network Capacity Building: NCB) โดย ผศ.ดร.กฤษดา พงษ์การัณยภาส ผู้จัดการคลีนิคเทคโนโลยีเครือข่าย และนายพิทญาธร อิ่นแก้ว เจ้าหน้าที่คลีนิคเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
3. รางวัลหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ (Science Community Incubator: SCI) “ระดับดีเด่น” จำนวน 3 รางวัล จากผลงาน
– หมู่บ้านเพิ่มมูลค่าสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา ต.ทุ่งแค้ว อ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่ โดย ผศ.ดร. กฤษดา พงษ์การัณยภาส มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
– หมู่บ้านสารสกัด Xanthone ในเปลือกมังคุดโดย ผศ.ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
– หมู่บ้านอัตลักษณ์ข้าวไชยา ระดับดีเด่น โดย ผศ.ดร.สุทธิรักษ์ ผลเจริญ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
4. รางวัลหมู่บ้านผู้ประกอบการ (Building Community Enterprise: BCE) “ระดับดีเด่น” จากผลงาน หมู่บ้านผักหวานออร์แกนิกเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์และแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลแม่แมะ โดย อาจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร.จิระชัย ยมเกิด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-เชียงใหม่
5. รางวัล อว. ส่วนหน้าจังหวัดชุมพร โดย ผศ. ชลดรงค์ ทองสง และดร.ณรงค์ โยธิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
สำหรับรางวัลเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี เป็นรางวัลที่มอบให้กับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยสู่ท้องถิ่น นำเอาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน เป็นการส่งเสริมการยกระดับชุมชนทางด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่แบ่งออกเป็นด้านการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (Technology Consulting Services: TCS) ด้านหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ (Science Community Incubator: SCI) ด้านหมู่บ้านผู้ประกอบการ (Building Community Enterprise: BCE) ด้านพัฒนาขีดความสามารถเครือข่าย (Network Capacity Building :NCB) และ อว.ส่วนหน้า ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินกิจกรรมนี้มาอย่างต่อเนื่อง ร่วมเป็นส่วนในการผลักดันให้ชุมชมสามารถพัฒนาต่อยอดได้อย่างชัดเจน