ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำโครงการ “การพัฒนาระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่แบบยั่งยืน ในภาคเหนือ” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมการเกษตรฮาลาล
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – สำนักงานเชียงใหม่ (ศวฮ.) เปิดหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับเกษตรกร เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กลุ่มเกษตรกรภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, แม่ฮ่องสอน) และสามารถนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดต่อได้ โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่มีในพื้นที่มาช่วยแก้ปัญหา เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมการเกษตรฮาลาล, ลดความเสี่ยงด้านการจัดการ, ลดต้นทุน, ลดการใช้แรงงาน และเพิ่มผลผลิตให้มากยิ่งขึ้น
สำหรับโครงการ “การพัฒนาระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่แบบยั่งยืน ภาคเหนือตอนบน 1” จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ภายในพื้นที่ และเพื่อแก้ไขปัญหาและลดความเสี่ยงด้านจัดการปลูกพืชสมุนไพรในโรงเรือนอัจฉริยะ และเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการการปลูกพืชสมุนไพรในโรงเรือนอัจฉริยะด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้เป็นโรงเรือนต้นแบบ เพื่อใช้และต่อยอดในอนาคตแบบยั่งยืน เพื่อนำผลิตผลทางการเกษตรในฟาร์มให้เป็นพืชปลอดภัยได้ตามมาตรฐาน GAP และได้รับความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน Halal ด้านหลักศาสนบัญญัติอิสลาม และเพื่อให้ไดัรับความรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะ และเทคโนโลยีสำหรับสมาร์ทฟาร์ม
ซึ่งการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการปลูกพืชสมุนไพรในรูปแบบเกษตรอัจฉริยะ เป็นการนำเอาระบบเฝ้าระวัง (monitoring) และระบบควบคุม (control) ปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น การใช้น้ำ, อุณหภูมิ และความชื้น เป็นต้น ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ loT (Internet of Things) โดยการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ (Sensor) และ อุปกรณ์ควบคุม (Controller) ภายในโรงเรือน และส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ โดยเกษตรกรหรือผู้ใช้งานสามารถสั่งการ และเรียกดูการรายงานผลในรูปแบบข้อมูลและกราฟผ่านทางหน้าเว็บไซต์ (Website) ทําให้สามารถลดต้นทุนการผลิต ในกระบวนการเพาะปลูก และเพิ่มผลผลิตให้สามารถส่งออกตลาดได้อย่างเพียงพอ ด้วยในปัจจุบันชุมชนมีตลาดรองรับเป็นจํานวนมาก นอกจากนี้ยังลดการใช้เวลาและการพึ่งพาแรงงานอีกด้วย
ทั้งนี้ได้จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 มีทั้งหมด 10 รุ่น ตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม 2566 มีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 600 คน ซึ่งมีการแบ่งหัวข้ออบรมแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อใหญ่ๆ ในเรื่องของ Sustainable Agriculture, Sustainable Branding, Sustainable Farming และ Sustainable Marketing, Sustainable Packaging ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมและให้ความรู้สำหรับผู้เข้ารับการอบรมเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความรู้สับเปลี่ยนหมุนเวียนมาให้บรรยายและจัด workshop มากมาย อาทิ
• Sustainable Agriculture
– การบรรยายหัวข้อ “พัฒนาการขยายพันธุ์สับปะรด สู่เกษตรชั้นนำ” โดย รศ.ดร.ชิติ ศรีตนทิพย์ Associate Professor Dr.Chiti Sritontip อาจารย์สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.ลำปาง
– การบรรยายหัวข้อ “Smart Farm เกษตรอัจฉริยะทางเลือกเกษตรกรยุคไอที และการจัดการ ฟาร์มสมัยใหม่พลิกวงการเกษตรไทยให้ยั่งยืน” โดยคุณพีรภัฒน์ วุฒิ Peerapat Vuti กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟาร์ม (ไทยแลนด์) จำกัด
– การบรรยายหัวข้อ “Farm To Face Workshop” Hydrosol, Infused Oil, Natural Lotion โดย
คุณวรินทร์ดา ศรีเจริญ Warinda Sricharoen ,คุณมัลลิกา สุทธิประภา Munliga Sutthiprapa เฮอบัล-สตูดิโอ และคุณผดุงพงศ์ สิทธิธัญญ์ Padungphong Sitthithan
จาก SunSpace
– การบรรยาย และ Workshop หัวข้อ “การทดสอบการระคายเคืองผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเบื้องต้นด้วยตนเอง” โดย คุณธรรมนูญ รุ่งสังข์ Tammanoon Rungsang , ผศ.ดร. ลภัสรดา มุ่งหมาย Lapatrada Mungmai
– การบรรยาย และปฏิบัติการ หัวข้อ “การเลือกสารและส่วนประกอบในการทำผลิตภัณฑ์ในช่องปาก และผลิตภัณฑ์กันแดด” โดย คุณฐิติพงษ์ เอี่ยมวรพันธุ์ Thithipong Aiemvarapun , คุณบศราวดี อมรโชติพันธุ์ Butsarawadee Amornchotphan , คุณภัสสรณ์ กองเงิน Raphassorn Kongngern, คุณเบญจพร คำยอง Benjaporn Kumyong จาก บริษัท Jebsen & Jessen Ingredients
– การบรรยายหัวข้อ “Farm Zoning Management จัดสรรพื้นที่ใช้สวนอย่างไรให้ลงตัว และ Workshop – Microbial Pesticide สาธิตการผลิตเชื้อจุลินทรีย์ชีวภัณฑ์ ตัวช่วยเกษตรกรในการ ควบคุมและกำจัดศัตรู พืช” โดย คุณบุญอนันต์ เหล่อโพ Boonanan Loepho ประธาน Young Smart Farmer จ.แม่ฮ่องสอน
• Sustainable Branding
– การบรรยายหัวข้อ “คอนเท้นต์ คอนใจ เกษตรกรยุคใหม่สร้างสรรค์อย่างไร ให้ยั่งยืน Smart Content for Sustainable” โดย คุณณัฐนันท์ อินแถลง Nuttanan Inthalaeng Marketing Director Blackcat Agency
• Sustainable Farming
– การบรรยายหัวข้อ “Design Thinking กับการพัฒนาชุมชนเกษตรเข้าสู่ฟาร์มอัจฉริยะในโรง เรือน” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณิษวาส จินตพิทักษ์ Asst. Prof. Dr. Manissaward Jintapitak จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– การอบรมเชิงปฏิบัติการ “Data Visualization for Smart Farm” โดย คุณกมลาภรณ์ กุมมาลือ Komalaporn Kummalue จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– การบรรยายหัวข้อ “Metaverse for Agriculture การประยุกต์การทำการเกษตรในโลกเสมือนจริง” โดยคุณผดุงพงศ์ สิทธิธัญญ์ Padungphong Sitthithan กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซันสเปซ ฟาร์ม จำกัด
– การบรรยายหัวข้อ “กว่าจะเป็นเกษตรกรที่เรียกตนเองว่า Young Smart Farmer”
โดย คุณนพนคร งามปฏิรูป Nopnakhorn Ngampatirup ประธานกลุ่ม Young Smart Farmer จ.เชียงใหม่ปี 64
– การฝึกปฏิบัติการหัวข้อ “loT Voice Control for Smart Farming การควบคุมระบบการเกษตรอัตโนมัติด้วยเสียงผ่าน loT” โดยคุณผดุงพงศ์ สิทธิธัญญ์ Padungphong Sitthithan กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซันสเปซ ฟาร์ม จำกัด
• Sustainable Marketing
– การบรรยายหัวข้อ “การสร้างร้านค้าออนไลน์บนช่องทางโซเชียลมีเดีย” (Social Media) โดย คุณทิพวรรณ ประทุมทา Tippawan Pratumta จาก บริษัท O2O Commerce
– การบรรยายหัวข้อ “Gets more Short VDO Commerceเทคนิคการนำเสนอขายสินค้าผ่านคลิปสั้นด้วยตัวเอง” โดย คุณณัฐนันท์ อินแถลง Nuttanan Inthalaeng จาก Blackcat Agency
– การบรรยาย และWorkshop หัวข้อ “Right Content, Right Person สร้างคอนเทนต์ที่ “ใช่” มัดใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง”
• Sustainable Packaging
– การบรรยายหัวข้อ “เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ ด้วย Smart Packaging Design” โดย คุณ คุณโสภิณ หาญเตชะ Sopin Hantecha, Art Director Minterax Studio
– การบรรยายและ Workshop หัวข้อ “Advanced Packaging Design & Development ออกแบบแพคเกจจิ้งอย่างมืออาชีพ สู่การสร้างแบรนด์อย่างยั่งยืน” โดย คุณโสภิณ หาญเตชะ Sopin Hantecha ตำแหน่ง Art Director บริษัท มินเทอแร็คซ์ สตูดิโอ จำกัด
– การบรรยาย และWorkshop หัวข้อ “การเลือกสารและส่วนประกอบในการทำผลิตภัณฑ์ในช่อง ปาก และผลิตภัณฑ์กันแดด” โดย คุณฐิติพงษ์ เอี่ยมวรพันธุ์ Thithipong Aiemvarapun , คุณบศราวดี อมรโชติพันธุ์ Butsarawadee Amornchotphan , คุณภัสสรณ์ กองเงิน Raphassorn Kongngern, คุณเบญจพร คำยอง Benjaporn Kumyong จาก จาก Jebsen & Jessen Ingredients (T) Ltd และคุณวรินทร์ดา ศรีเจริญ Warinda Sricharoen จาก เฮอบัล-สตูดิโอ จำกัด
– การฝึกปฏิบัติการหัวข้อ “Packaging Design 4.0 for Sustainable Agriculture : ออกแบบแพคเกจ จิ้งอย่างมืออาชีพเพื่อสร้างธุรกิจเกษตรที่ยั่งยืน” โดย คุณโสภิณ หาญเตชะ Sopin Hantecha, Art Director บ. มินเทอแร็คซ์ สตูดิโอ จำกัด
สำหรับประชาชนทั่วไปต้องการข้อมูลโครงการ “การพัฒนาระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่แบบยั่งยืน ภาคเหนือตอนบน 1” สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่…-https://sites.google.com/view/halal-smart-farm/home?authuser=0 -https://www.facebook.com/HSC.CU.CM?mibextid=ZbWKwL