สกู๊ปพิเศษ » Hillkoff ชวนกระโดดออกจากถ้วยกาแฟที่ไม่ได้มีแต่เครื่องดื่มพร้อมเปิดศูนย์การเรียนรู้กาแฟชาวไทยภูเขา (ทับเดื่อ) แม่แตง ให้เยี่ยมชมกระบวนการผลิตและผลิตผลจากกาแฟ

Hillkoff ชวนกระโดดออกจากถ้วยกาแฟที่ไม่ได้มีแต่เครื่องดื่มพร้อมเปิดศูนย์การเรียนรู้กาแฟชาวไทยภูเขา (ทับเดื่อ) แม่แตง ให้เยี่ยมชมกระบวนการผลิตและผลิตผลจากกาแฟ

24 กุมภาพันธ์ 2021
1301   0

Spread the love

จากจุดเริ่มต้นสู่ความพยายามสูงสุดในความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชน  Hillkoff  เริ่มมาจากธุรกิจค้าขายเครื่องใช้ฝีมือชาวไทยภูเขาในภาคเหนือและเป็นศูนย์กลางให้ เกษตรกรบนดอยได้แลกเปลี่ยนสินค้าการเกษตร ในยุคที่ชาวไทยภูเขาส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพและปลูก “ฝิ่น” เพียงเพราะความยากจน แต่ไม่ใช่อาชีพที่ยั่งยืน ภายหลัง พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเห็นถึงวิกฤตนี้ จึงทรงแนะนำให้ปลูกพืชทดแทนเป็น ข้าว ถั่วแดง ฟักทอง และหนึ่งในนั้นคือ “กาแฟ”

ผู้คนบนดอยเริ่มทำความรู้จักกับกาแฟ (ต้นไม้แปลกหน้าทีมีผลกลมสีแดงๆ) เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.2516 โดย ธีระ ทักษอุดม ผู้บุกเบิกกาแฟชาวไทยภูเขาช่วยสานต่อเครือข่ายชาวไทยภูเขาให้แข็งแรงขึ้น ใช้เวลาหมดไปกับการตระเวนไปตามพื้นที่สูงในภาคเหนือและชวนให้เกษตรกรหันมาปลูกกาแฟ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้อุตสาหกรรมกาแฟในภาคเหนือค่อยๆ เติบโต

ไม่นานนัก โรงงานกาแฟชาวไทยภูเขาแห่งแรกในภาคเหนือก็ถือกำเนิดขึ้นเครื่องคั่วกาแฟจากเยอรมัน ถูกนำเข้ามาใช้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย มีการทำวิจัยและส่งขายในตลาดอย่างจริงจัง ขณะนั้น ครอบครัว ได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกเป็นบริษัทเอกชนรายแรกของภาคเหนือที่ทำกาแฟอราบิก้า

ใช้เวลาหลายปีสำหรับสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมผู้ปลูกโดยการลงสนามทำธุรกิจกาแฟอย่างจริงจัง ขณะเดียวกัน “กาแฟ” ก็เปลี่ยนสถานะจากพืชแปลกหน้าที่ไม่มีใครรู้จัก เป็นเครื่องยอดฮิตที่ใครๆก็ดื่ม ปัจจุบันตลาดกาแฟไทยพัฒนาไปอย่างรวดเร็วติดลำดับที่ 23 ของโลก สังคมผู้ดื่มก็เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ตลาดมีความต้องการกาแฟในปริมาณที่มาก เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่สูงขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน

หลังจากนั้น ปุ่น -นฤมล ทักษอุดม ทายาทของผู้บุกเบิก (ธีระ ทักษอุดม) ได้ก้าวเข้ามาอยู่ใน วงการนี้อย่างเต็มตัวในนาม Hillkoff ธุรกิจคั่วบดกาแฟที่มุ่งความสนใจไปยังกลุ่ม ผู้ประกอบการร้านกาแฟดูแล ในเรื่องอุปกรณ์ทำกาแฟ จัดฝึกอบรม ศูนย์ซ่อมเครื่อง และการออกแบบร้านจนกลายมาเป็นธุรกิจกาแฟ ครบวงจร

Hillkoff เริ่มต้นเฟ้นหาประโยชน์ของกาแฟที่เป็นมากกว่าเครื่องดื่มในถ้วย และค้นพบคุณค่า จากทุกส่วน ของกาแฟ และใช้อย่างคุ้มค่าโดยไม่เหลือส่วนใดทิ้งไว้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ อุตสาหกรรมกาแฟจะต้องไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม ป่าจะต้องไม่ถูกทำลาย การเติบโตของ Hillkoff จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างสุดความสามารถ โดยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ใช้ระบบการจัดซื้อแบบไดเรกเทรด (Direct trade) มาตั้งแต่รุ่นบุกเบิก โรงคั่วกาแฟจะรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรโดยตรง เป็นเมล็ดกาแฟทุกเมล็ด ทุกสี ทุกแบบ เพราะเมื่อสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวกาแฟทุกผลจะออกไปหมด , ระบบตรวจสอบผลผลิตอย่างเป็นระบบ เพราะจะทำให้เมล็ดมีคุณค่า , พลิก “ความเสี่ยง” ให้เป็นโอกาส โดยการนำวิทยาศาสตร์มาหลอมรวมกับธรรมชาติ จนพบว่าเปลือกสีแดงๆ  (Coffee Pulp) เป็นชาเชอร์รี่ที่มีคุณสมบัติต่อต้านการอักเสบ ในแมคโครฟาจและการดื้อต่ออินซูลินในไขมันได้ พร้อมทั้งต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ เช่น โลชั่น ครีมกันแดด เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ไซเดอร์พร้อมดื่ม นำกาแฟเข้าไปอยู่ในทุกผลิตภัณฑ์ เช่น ขนม อาหาร ซอส ถ่าน กระถางต้นไม้ และเครื่องดนตรีวิทยาศาสตร์ จากผลกระทบจากอุตสาหกรรมที่ผ่านมาที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมโดยรวมเป็นอย่างมาก Hillkoff จึงมุ่งออกแบบระบบการผลิตที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อโลกน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำให้ทั้ง Hillkoff และเพื่อนเกษตรกรจับมือกันก้าวข้ามไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น

Hillkoff เริ่มต้นด้วยการคิดค้นวิธีบำบัดควันจากการคั่วกาแฟ ทำให้ช่วยบำบัดมลพิษทางอากาศ และช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังยึดหลัก Zero waste โดยพยายามใช้ทรัพยากรทุกอย่างให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดโครงการ “No Burn, Grow Coffee” รณรงค์ให้เกษตรกรเลิกปลูกพืชอุตสาหกรรมอายุสั้น ที่ทำลายป่าและหน้าดิน หันมาปลูกกาแฟเป็นการทดแทน  และปลูกกาแฟแบบ ‘วนเกษตร“ โดยปล่อยให้ ต้นไม้สูงให้ร่มเงาโอบล้อมต้นกาแฟเอาไว้ ทำให้บนดอยยังมีป่าที่จะเป็นบ้านของสัตว์น้อยใหญ่ และหล่อเลี้ยง ผู้คนในละแวกได้อย่างอุดมสมบูรณ์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ

ตลาดกาแฟไทยปีที่ผ่านมามีมูลค่ารวมกว่า 60,0000 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบัน Hillkoff ยังคงต้องปรับตัวและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยผลักดันตัวเองก้าวเข้าสู่ยุคธุรกิจแบบ Circular Eco System โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษา นักวิจัยและองค์กรด้านนวัตกรรม เรากำลังเดินหน้าไปพร้อมๆ กับเป้าหมายของภาครัฐที่กำลังส่งเสริมให้ธุรกิจต่างๆ ภายใต้แนวคิด BCG Model (Bio-Circular-Green Economy)

พร้อมทั้ง มุ่งศึกษาและพัฒนาคุณค่าจากทรัพยากรในท้องถิ่นและกาแฟในโลกของเรา ไม่จำกัดเพียงพืชเครื่องดื่ม หากเรารู้คุณค่าคุณประโยชน์อย่างแท้จริง อุตสาหกรรมกาแฟจะเติบโตก้าวหน้าต่อไป ดำเนินธุรกิจบนความตั้งใจพัฒนาเศรษฐกิจให้ยั่งยืน.