วันที่ 19 เมษายน 2566 สมาคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA : Thai Embedded System Association) จัดงานสัมมนา “เชียงใหม่ กับ PM2.5 ผลกระทบต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจองค์รวม การออกมาตรการ ควบคุม ป้องกัน ปัจจัยที่ผู้ว่าฯ สามารถควบคุมได้ และ ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้“ โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ,นายอนันต์ รุ่งนิรันดร์พร เลขาธิการคณะมนตรีสภาปฏิรูปการศึกษาภาคประชาชน และนายณพงศ์ นิมสังข์ ผจก. ฝ่ายการขายและตลาด บ. GNH 168 จำกัด ร่วมกันเปิดงานสัมนา เพื่อหาความร่วมมืออย่างยั่งยืนในการแก้ปัญหาฝุ่นควัน ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ, การท่องเที่ยว และสุขภาพของประชาชน ของชาวเชียงใหม่เป็นอย่างหนัก โดยในงานนี้ได้เชิญผู้เกี่ยวข้อง และองค์กรที่จะร่วมแก้ปัญหา ณ ห้องหลักเมือง โรงแรมคุ้มภูคำ
ปัญหาฝุ่นควันเรื้อรังมานาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 จนปัจจุบันกว่า 16 ปี ที่ชาวเชียงใหม่ต้องใช้ชีวิตกับอากาศเป็นพิษหายใจติดขัด และส่งผลกระทบทั้งเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และสุขภาพของประชาชนที่รุนแรง โดยการจัดงานสัมนาในครั้งนี้จะเป็นการบรรยายหัวข้อ เชียงใหม่ เมือง Smart แก้ปัญหามลพิษ จังหวัดนำร่อง” แนวทางของ Smart City สำหรับเมืองเชียงใหม่ที่ถูกต้อง เพื่อแก้ปัญหามลพิษ รวมถึงการสร้าง Ecosystem ที่ยั่งยืน สำหรับเมืองแห่งอนาคตตามนโยบาย ESG โดย ดร.วัชระ ฉัตรวิริยะ นายกสมาคมสมองกลฝังตัวไทย
ภายในงานได้รับเกียรติจาก นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดงาน พร้อมด้วย ดร.วัชระ ฉัตรวิริยะ นายกสมาคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA : Thai Embedded System Association) ร่วมเปิดงานอย่างเป็นทางการ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจ้งปัญหาให้ทุกภาคส่วน ที่มีศักยภาพเสนอแนวทางการแก้ปัญหาทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้ บูรณาการร่วมกัน ให้เป็นวาระแห่งชาติ เพราะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกแง่มุมทั้งด้านเศรษฐกิจสุขภาพ อนามัย และสุขภาพจิต ยังผลไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและรายรับของประเทศ และเพื่อขอความร่วมมือทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคเอกชนที่มีศักยภาพ และนำแนวทางจากหน่วยงาน
ในต่างประเทศที่มีการนำกระบวนการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างเป็นรูปธรรมด้วยแนวคิด ESG (Environment, Social และ Governance) ซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น หอการค้าจีน หรือ ประเทศสิงคโปร์เป็นต้น และเพื่อขอความร่วมมือ ภาคครัวเรือน ภาคประชาชน ให้ตระหนักถึงภาวะสิ่งแวดล้อม และแนะนำการใช้งานMobile Application ทั้ง Android และ iOS ชื่อว่า “Windy” เพื่อตรวจสอบสภาพอากาศด้วยตนเอง