เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ดรกิติพงศ์ พร้อมวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช) ประธานเปิดงานโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในกลุ่มประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือแม่โขง–ล้านช้าง เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจนวัตกรรม โดยมี นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอดรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ Mr. Wu Zhiwu กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเชียงใหม่ นางสาวนภัสพร ภัทรีชวาล กงสุลใหญ่ ณ เมืองชิงต่าว สาธารณรัฐประชาชนจีน Mr. Shen Sunan ประธานกรรมการ ASEAN Innovation and Development Promotion Association สาธารณรัฐประชาชนจีน รศดร.โชติชัย เจริญงาม ประธานกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง ผศ. ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศดร.รุจิรา อุ่นเจริญ คณบดีวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มช.
ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าความร่วมมือทางวิชาการของวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล กับหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องการส่งเสริมความร่วมมือระดันานาชาติ และในด้านการวิจัย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในปัจจุบัน
ด้านดร.กิติพงค์ พร้อมวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช) “การได้ร่วมงานกับ ICDI ครั้งนี้ ซึ่งได้ร่วมงานโครงการศึกษานโยบายสำหรับ “ระเบียงเศรษฐกิจนวัตกรรม Route 1” จากการศึกษา
ด้านศักยภาพทางเศรษฐกิจภาคเหนือ และภาคอีสานของประเทศไทย ซึ่งเชื่อมั่นว่าโครงการของวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการค้า การลงทุนของธุรกิจ SME ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง และเกิดการกระจายรายได้หมุนเวียน การลงนามความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับหอการค้าและมหาวิทยาลัยพันธมิตรในกลุ่มความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคของกลุ่มประเทศ CLMVT และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมุ่งหวังผลักดันให้เกิดการค้าขายสินค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน(Cross Border E- Commerce) ต่อไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดรรุจิรา อุ่นเจริญ คณบดีวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล คณบดีวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้ได้รับงบประมาณจากกองทุนแม่โขง –ล้านช้าง มุ่งหวังการสร้าง Startup ใหม่จากทีม Digital Marketer ทำธุรกิจการค้างทางอิเล็กทรอนิกส์ และสร้างความร่วมมือในคนรุ่นใหม่ข้ามพรมแดน จีน ,ไทย,พม่า ,ลาว ,กัมพูชา และเวียดนาม ร่วมกันสร้างฐานความรู้ด้านแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน ซึ่งจะเป็นต้นแบบช่องทางการตลาด ที่จะทำให้ทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด”
ด้านอาจารย์ ดรเพียงออ เลาหะวิไลย อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล และผู้เชี่ยวชาญด้าน Cross Border E-Commerce กล่าวว่าวัตถุประสงค์โครงการฯ เพื่อให้ความรู้แก่นักการตลาดดิจิทัลและผู้ประกอบการ เพื่อผลักดันให้เกิดการนำสินค้าจากไทย และกลุ่มประเทศ CLMV ไปขายที่จีนผ่าน Cross Border E-Commerce Platform โดยตั้งเป้าการขนส่งไปทางราง ผ่านรถไฟความเร็วสูง ไทย–ลาว–จีน ทำให้ประหยัดเวลาและค่าขนส่งเป็นการทำโครงการวิจัยเกี่ยวกับ Cross Border E-Commerce วิทยาลัยฯ พบว่า ผู้ประกอบการรายย่อย เช่น กลุ่มSMEs และ OTOP ไม่ประสบความสําเร็จการขายสินค้าผ่านช่องทาง Cross Border E-Commerce ด้วยปัจจัยหลายอย่าง อาทิ การสื่อสารเป็นภาษาจีน ระบบการจ่ายเงิน เป็นต้น
ดังนั้น “ โครงการนี้เราจึงมีเป้าหมายในการสร้าง Digital Marketer จำนวน 50 ทีม ประกอบไปด้วยนักศึกษาจีนที่มาเรียนในประเทศไทย จับคู่กับนักศึกษาไทยและ CLMV มีหน้าที่รับผิดชอบช่วยผู้ประกอบการนำสินค้าขึ้นไปขายบนCross Border E-Commerce Platform โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการอบรมในหลักสูตรด้าน Social Commerce, Marketing การเจรจาต่อรองกับผู้ประกอบการ ความรู้ด้าน Cross Border E-Commerce Platform ที่สำคัญ เป็นประสบการณ์ของเด็กรุ่นใหม่ให้ทำธุรกิจจนเติบโตเป็น Startup และยังมีพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการตลอดระยะเวลากิจกรรม โดยทีมที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้ชนะ 10 ทีม จะได้รับเงินรางวัลกว่า 500,000 บาท“อาจารย์ ดรเพียงออ กล่าว